Handmade jewelry often reflects superior craftsmanship. Local goldsmiths take pride in their work, paying attention to detail and using high-quality materials, ensuring the jewelry's durability and beauty. Buying from local artisans supports the local economy and allows you to connect more closely with the creator of the piece. It can also contribute to preserving traditional craftsmanship.

Story......... เมื่อราวพุทธศักราช 2453 ณ ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง นาย ฉื่น กิ๊ด หยี่ ได้มาตั้งรกราก ริเริ่มร้านทองเล็ก ๆ ใต้ต้นมะขามใหญ่ สร้างงานฝีมือด้วย ทอง นาก เงิน ด้วยเครื่องมือน้อยชิ้นเรียบง่าย แต่รุ่มรวยด้วยพลังสร้างสรรค์ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ ...ช่างทอง โคนมะขาม เวลาผ่านไป............ .........ต้นมะขามหยั่งรากลึกลงในผืนดินเดิม เมื่อ ยินดี ลูกสาวคนที่ หก ของนาย ฉื่น กิ๊ด หยี่ และนาง เป้า ปี๊ รับสืบทอดอาชีพช่างทองด้วยใจรัก มุ่งมั่น และแน่วแน่ ด้วยกำลังใจและพลังสร้างสรรค์ของคนคู่กายผู้มองการไกล ร้านต้นมะขามช่างทอง ของนางยินดี และนายใช้ จึงได้พิสูจน์คุณค่าดั้งเดิมให้เป็นที่ประจักษ์ รังสรรค์งานฝีมือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รักษาคุณค่าความงามตามธรรมชาติของเนื้อทองแท้ ซื่อสัตย์ เที่ยงธรรมต่อลูกค้า กระทั้งราวปีพุทธศักราช 2500 ต้นมะขามยังคงแผ่รากหยั่งลึก ณ ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ผลัดใบ แตกกิ่งมิได้หยุดยั้ง ในชื่อ ต้นมะขามช่างทอง ฟองจันทร์ หลานสาวคนโตของตายาย ลูกสาวคนแรกของพ่อแม่ ผู้ถือกำเนิดและเติบใหญ่ใต้ร่มมะขาม ท่ามกลางบรรยากาศการรังสรรค์งานศิลปะด้วยฝีมืออันมีเอกลักษณ์ ตั้งแต่การหลอม ตี ดึง ร้อย เชื่อมข้อ ออกแบบลาย สลัก ขัดเงา เธอได้เฝ้าสังเกต ซึมซับ ฝึกฝนการทำทองด้วยความมุ่งมั่น ดังนั้น เมื่อพ่อจากไปก่อนวัยอันควร ในปี พ.ศ. 2503 เธอจึงเข้ารับหน้าที่สืบทอดอาชีพช่างทองต่อจากพ่อได้อย่างสมบูรณ์ ขยายกิจการออกไปทั้งในถิ่นเดิมและจังหวัดอื่น ๆ เกือบ ๑๐๐ ปีผ่านไป เมล็ดจากมะขามต้นเดิม เดินทางมาหยั่งรากลงที่อยุธยา อดีตราชธานี และกรุงเทพมหานคร ภายใต้ร่มเงาของต้นมะขามต้นใหม่ ช่างทองรุ่นที่สี่ ได้สืบสานอัจฉริยภาพ และทุ่มเทความสามารถเพื่อจะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งทองเนื้อแท้ที่ไม่สามารถหาใดเทียม อันจะติดตรึงใจลูกค้าสืบไป
